วันพฤหัสบดีที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประเทศจอร์เจีย

จอร์เจีย (Georgia) หรือชื่อเดิมว่า "สาธารณรัฐจอร์เจีย" เคยเป็นสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียต เป็นประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของเทือกเขา Transcaucasiaและตะวันออกของทะเลดำในคอเคซัสตอนใต้ จอร์เจียมีอาณาเขตทางเหนือจรดพรมแดนประเทศรัสเซีย ทางทิศใต้จรดพรมแดนประเทศอาร์เมเนีย และประเทศตุรกี ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน และทิศตะวันตกติดชายฝั่งทะเลดำ





มีเมืองหลวงชื่อ "ทบิลิซิ" (Tbilisi) ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของจอร์เจีย ทั้งนี้ จอร์เจียมีพื้นที่ทั้งหมด 69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ประชากรประมาณ 4,677,401 คน ความหนาแน่นของประชากร 206 คน ต่อตารางไมล์ ส่วนใหญ่เชื้อชาติจอร์เจีย 70% แต่ก็มีเชื้อชาติอื่นๆ ผสมด้วย เช่น ชาวอาร์เมเนีย 8% ชาวรัสเซีย 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายออร์ทอดอกซ์ ใช้ภาษาจอร์เจียเป็นภาษาราชการ ซึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ภูมิอากาศส่วนใหญ่อบอุ่นสบาย ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลดำมีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน



การเมือง
จอร์เจียเป็นประเทศที่แยกตัวออกมาจากสหภาพโซเวียต (คอมมิวนิสต์) ช่วงหลังสงครามเย็นซึ่งก่อนที่จะแยกออกมานั้นมีชื่อประเทศว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมจอร์เจีย" แต่ก็ยังไม่ได้การรับรองจากประเทศใด ๆ ทำให้เกิดการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนจากคนต่างเชื้อสายในประเทศเดียวกันเองอยู่เสมอ ส่วนเมืองที่รัสเซียให้การสนับสนุนก็ได้ออกมาในรูปแบบของชนกลุ่มน้อยที่ต่อต้านรัฐบาลจอร์เจียซึ่งทางรัสเซียถือหางอยู่ จอร์เจียถือเป็นรัฐกันชนอีกแห่งที่จะสามารถเชื่อมต่อไปยังยุโรปตะวันออกได้ และในอดีตทางยุโรปตะวันออกก็ถือได้ว่าเป็นเขตอิทธิพลของระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาวยุโรปและโดยเฉพาะกับยุโรปตะวันตกเป็นอย่างมาก และเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ก็ได้ประกาศสงครามและสู้รบอย่างเป็นทางการกับทางรัสเซียแล้ว เพราะเนื่องจากถูกทหารรัสเซียบุกเข้าโจมตีทางเซาท์ออสซีเชียก่อนหน้านี้เป็นเวลา 2 วันแล้ว









การแบ่งเขตการปกครอง
จอร์เจียแบ่งเป็น 9 จังหวัด (mkhare) จังหวัดต่าง ๆ แบ่งย่อยลงไปเป็นเขต (raioni) 2 สาธารณรัฐปกครองตนเอง (avtonomiuri respublika) และ 1 นคร (k'alak'i) * ดังนี้


1. สาธารณรัฐปกครองตนเองอับฮาเซีย (Abkhazia) เมืองหลวงชื่อ โซฮูมี (Sokhumi)

2. ซาเมเกรโล-เซโมสวาเนตี (Samegrelo-Zemo Svaneti) เมืองหลวงชื่อ ซุกดีดี (Zugdidi)

3. กูเรีย (Guria) เมืองหลวงชื่อ โอซูร์เกตี (Ozurgeti)

4. สาธารณรัฐปกครองตนเองอัดยารา (Adjara) เมืองหลวงชื่อ บาตูมี (Batumi)

5. ราชา-เลชฮูมีและคเวโมสวาเนตี (Racha-Lechkhumi and Kvemosvaneti) เมืองหลวงชื่อ อัมโบรลาอูรี Ambrolauri)

6. อีเมเรตี (Imereti) เมืองหลวงชื่อ คูไตซี (Kutaisi)

7. ซัมซเฮ-ยาวาเฮตี (Samtskhe-Javakheti) เมืองหลวงชื่อ อะฮัลต์ซีเฮ (Akhaltsikhe)

8. ชีดาคาร์ตลี (Shida Kartli) เมืองหลวงชื่อ โกรี (Gori)

9. มซเฮตา-มเตียเนตี (Mtskheta-Mtianeti) เมืองหลวงชื่อ มซเฮตา (Mtskheta)

10. คเวโมคาร์ตลี (Kvemo Kartli) เมืองหลวงชื่อ รุสตาวี (Rustavi)

11. คาเฮตี (Kakheti) เตลาวี (Telavi)

12. นครทบิลิซิ (Tbilisi)












ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง
ทางตอนใต้ของเทือกเขาคอเคซัส
- ทิศเหนือ จรดพรมแดนรัสเซีย
- ทิศตะวันออก จรดพรมแดนอาเซอร์ไบจาน
- ทิศใต้จรดพรมแดนอาร์เมเนีย และตุรกี
- ทิศตะวันตก ติดชายฝั่งทะเลดำ
พื้นที่
69,700 ตารางกิโลเมตร หรือ 26,911 ตารางไมล์ ความหนาแน่นของประชากร 206 คน ต่อตารางไมล์








ประชากร
เป็นเชื้อชาติจอร์เจีย 70% ชาวอาร์เมเนีย 8% ชาวรัสเซีย 6% และอื่น ๆ 16%








วัฒนธรรม
นับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์ 75% นับถือศาสนาอิสลาม 11% อื่น ๆ 14%